เฮนรี่ แวดสเวิร์ธ ลองฟอลโลว์ นักประพันธ์เอก ยุคศตวรรษที่ 19 กล่าวไว้ว่า เป็น “ภาษาสากลของมนุษยชาติ” กาลเวลาล่วงมาเป็นที่แน่ชัดว่าคำกล่าวของเขาเป็นความจริง เพราะดนตรีนั้นเป็นสื่อภาษาสากล ที่คนทุกชทุกชาติทุกภาษาสื่อสารเข้าใจความหมายร่วมกัน
เสียงดนตรีคือสิ่งที่กล่อมเกลาจิตใจของคนให้มีอ่อนโยน เยือกเย็นดับทุกข์ได้
ดนตรีคลาสสิกเป็นดนตรีแขนงหนึ่งซึ่งก่อกำเนิดและมีพัฒนาการมาอย่างยาวนานเป็นหนึ่งในภาษาเพลงที่ผู้คนทั้งโลกต่างยอมรับในความไพเราະมีมนต์เสน่ห์ที่ชวนให้ลุ่มหลง ยามใดที่ได้รับฟังเพลงคลาสสิกโดยเฉพาะเพลงที่ได้รับการประพันธ์จากคีตกวีเราจะได้สัมผัสถึงอารมณ์อันสุนทรีอันอ่อนโยน ละเอียดอ่อนของผู้ประพันธ์ได้อย่างจับใจ
จากอดีตนับแต่ดนตรีคลาสสิกได้กำเนิดขึ้นมาทำหน้าที่ขับกล่อมจิตใจให้กับผู้คนที่ได้รับฟังได้ มีบทเพลงมากมายที่ประพันธ์โดยศิลปินคีตกวีผู้มีชื่อเสียงระดับโลกได้กลายเป็นบทเพลงคลาสสิกที่เป็นอมตะและอยู่ในความทรงจำของผู้คนทั้งโลกไปนานแสนนาน มีอยู่มากมายหลายเพลง
ในที่นี้ จะขอแนะนำและกล่าวถึงบทเพลงคลาสสิกอันเป็นอมตะที่ได้รับความนิยมตลอดกาล 3 บทเพลง
อันดับที่ 1 Symphony No. 9 in D Minor (Ode To Joy)
ซิมโฟนีหมายเลข 9 ในบันไดเสียง ดี ไมเนอร์ ประพันธ์โดยคีตกวีชื่อก้องโลก เบโทเฟิน หรือที่รู้จักในชื่อ คอรัล ซิมโฟนี เริ่มแต่งขึ้นใน ค.ศ. 1818 แล้วเสร็จออกทำการแสดงครั้งแรกเมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม ค.ศ. 1824 ที่กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย เพลงนี้เป็น เป็นผลงานซิมโฟนีชิ้นสุดท้ายที่ เบโทเฟินแต่งได้เสร็จสิ้นสมบูรณ์ ต่อมาในปี ค.ศ.1993 รัฐสภายุโรปได้กำหนดให้เพลงนี้เป็นเพลงประจำสหภาพยุโรปนั้นแต่นั้นมา
อันดับที่ 2 Clair de Lune
เป็นเพลงที่ถูกแต่งให้บรรเลงด้วยเปียโนที่ประพันธุ์โดยคีตกวีชาวฝรั่งเศสที่มีชื่อว่า โกลด เดอบูว์ซี ในปีปี ค.ศ. 1890 เมื่อเขามีอายุ 28 ปี แต่ได้ถูกนำออกเผยแพร่ในปี ค.ศ. 1905 ซึ่งขณะนั้นเดอบูว์ซีมีอายุ 43 ปี Clair de Lune ถือว่าเป็นเพลงเป็นเปียโนสวีตชิ้นที่มีชื่อเสียงที่สุดชิ้นหนึ่งของเดอบูว์ซี
อันดับที่ 3 Rhapsody in Blue
เป็นผลงานการประพันธ์โดยคีตกวีที่ชื่อ จอร์จ เกิร์ชวิน เพื่อใช้สำหรับบรรเลงเดี่ยวเปียโนร่วมกับวงดนตรีแจ๊ส เกิร์ชวิน เพลงนี้ถูกแต่งในปี ค.ศ. 1924 โดยได้มีการผสมผสานแนวดนตรีคลาสสิกกับเทคนิคการเล่นแบบแจ๊สและแร็กไทม์เข้าด้วยกัน ถือเเป็นผลงานในแนวทดลองชิ้นแรกของเขา ซึ่งต่อมาได้รับความนิยมเป็นอย่างสูง สร้างชื่อเสียงให้กับเกิร์ชวินในฐานะนักประพันธ์เพลง
นอกจากนี้ยังมีเพลงคลาสสิกอีกจำนวนมากที่เป็นอมตะและได้รับความนิยมไปทั่วโลก อาทิเช่น Canon in D ประพันธ์โดย โยฮันน์ พาเคลเบล คีตกวีชาวเยอรมัน ฯลฯ
สำหรับในประเทศไทยรัชกาลที่ 6ได้ทรงพระราชนิพนธ์บทประพันธ์เอาไว้ว่า “อีกใครฟังดนตรีไม่เห็นเพราะ เขานั้นเหมาะคิดกบฎอัปลักษณ์ ฤๅอุบายเล่ห์ร้ายขมังนัก มโนหนักมืดมัวเหมือนราตรี อีกดวงใจย่อมดำสกปรกราวนรกเช่นกล่าวมานี่ ไม่ควรใครไว้ใจในโลกนี้ เจ้าจงฟังดนตรีเถิดชื่นใจ นั้น เห็นจะจริงดังบทพระราชพิพนธ์”